การดูแลตัวเองของ คนวัยทอง วัย 60+ ดูแลตัวเองยังไงให้แข็งแรง ของคนที่เริ่มต้นเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
ทุกวันนี้สังคมไทยนั้นมีผู้สูงอายุ เพิ่มมากขึ้นทุกวัน วันนี้แอดจะมาพูดถึง สุขภาพของ คนวัยทอง กันค่ะ วันนี้จะมาบอกวิธีดูแลตัวเองของผู้ที่กำลังจะอายุย่างก้าวเข้าเลข 50+ นะคะ

วัยทอง
การดูแลสุขภาพและสุขอนามัยใน คนวัยทอง
วัยผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
1. วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว
อายุตั้งแต่ 20-25 ปีถึง 40 ปี วัยนี้มีพัฒนาการเต็มที่ของร่างกาย วุฒิภาวะทางจิตใจอารมณ์ พร้อมที่จะ มีบทบาทที่จะเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนในเรื่องอาชีพ คู่ครอง และความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ อย่างมีความหมาย
2. วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน
อายุตั้งแต่ 40 ปีถึง 60-65 ปี เป็นวัยที่ได้ผ่านชีวิตครอบครัวและชีวิตการงานมาระยะหนึ่ง มีความมั่นคงและความสำเร็จในชีวิต
3. วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ
อายุตั้งแต่ 60-65 ปีขึ้นไป เป็นวัยของความเสื่อมถอยของร่างกาย สภาพจิตใจ และบทบาททางสังคม การปรับตัวต่อความเสื่อมถอยและการเผชิญชีวิตในบั้นปลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของวัยนี้ ในที่นี้จะแยกวัยผู้ใหญ่ตอนปลายออกไปเป็นวัยสูงอายุ
ปัญหาที่พบในวัยผู้ใหญ่
ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านร่างกาย ได้แก่
- การเข้าสู่วัยทองของผู้ชายและการหมดประจำเดือนในผู้หญิงหรือสตรีวัยทอง (menopause)
- ปัญหาการมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
– การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม
– การขาดการออกกำลังกาย
– การพักผ่อนไม่เพียงพอ - ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
– โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ เช่น ความร้อน ความเย็น แสง เสียง การสั่นสะเทือน
– โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพ เช่น โรคแอนแทรกซ์ โรคปอดชานอ้อย
– โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมี เช่น พิษจากตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ฝุ่นแร่ใยหิน ฝุ่นซิลิกา เบนซีน
แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่

วัยทอง
1. แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวันผู้ใหญ่ด้านร่างกาย
1.1 สร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
– ให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น สาเหตุ อาการและอาการแสดง เช่น ปัญหาความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ปัญหาหมดประจำเดือน หรือชายวัยทอง
– แนะนำการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น และวิธีการชะลอความเสื่อมถอยของร่างกาย โดยเลือกอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการผ่อนคลายความตึงเครียด
1.2 คงไว้ซึ่งความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย
– การออกกำลังกาย
– การรับประทานอาหาร
– สนับสนุนให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี
1.3 สร้างเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
1.4 สร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การกดจุด การฝังเข็ม การใช้น้ำมันหอมระเหย การบำบัดด้วยโภชนาการและอาหาร ดนตรีบำบัด เป็นต้น
2. แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวันผู้ใหญ่ด้านจิตอารมณ์
2.1 พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับตน และในส่วนที่สัมพันธ์กับผู้อื่น
2.2 สร้างเสริมเทคนิคการจัดการความเครียด
2.3 สร้างเสริมสุขภาพจิตหญิงวัยหมดประจำเดือนและชายวัยทอง
2.4 ส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธีและให้กำลังใจในการเผชิญปัญหา
3. แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวันผู้ใหญ่ด้านสังคม
3.1 ส่งเสริมการปรับตัวเข้ากับแบบแผนชีวิตแบบใหม่และบทบาทในสังคม เช่น การเตรียมตัวมีคู่ชีวิต การปรับตัวเข้ากับคู่ครอง
3.2 ส่งเสริมความผูกพันของพ่อแม่กับลูกวัยทารก
3.3 ส่งเสริมการบริหารเวลาที่เหมาะสม
สรุป คนวัยทอง
วัยผู้ใหญ่ตอนต้นร่างกายมีความสามารถสูงสุด มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น กลุ่มเพื่อนลดน้อยลง มีการปรับเปลี่ยนบทบาทมากมาย ปัญหาที่เกิดขึ้นในวัยนี้ที่สำคัญคือ ความผิดหวังในความรัก การไม่สามารถปรับตัวกับบทบาทใหม่
ในวัยกลางคน ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลง เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ โ ดยเฉพาะในเพศหญิงการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมาได้ ในวัยนี้ส่วนใหญ่บุคคลจะมีบุคลิกภาพและอารมณ์มั่นคง มีความพึงพอใจกับชีวิตที่ผ่านมา และควรได้มีการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุต่อไป